1949               เนื่องจากสงครามกลางเมืองระหว่างรัฐบาลพรรคก๊กมินตั๋ง(คณะชาติ)-พรรคคอมมิวนิสต์ กองกำลังทหารจีนคณะชาติ  จึงต้องถอนกำลังไปไต้หวัน ด้านกองกำลังทหารคณะชาติมณฑลยูนนาน ได้ต่อสู้ มาจนถึงชายแดนพม่า และระหกระเหินมาถึงภาคเหนือของไทย โดยก่อตั้งหมู่บ้านผู้ลี้ภัยน้อยใหญ่ขึ้น 64 หมู่บ้าน มีผู้ลี้ภัยมากกว่า 60,000 คน

1994-01-29      ประธานสภากิจการโพ้นทะเลแห่งไต้หวัน (The Overseas Community Affairs Council, R.O.C.) คุณเจี่ยงเซี่ยวเอี๋ยนได้เดินทางมาเข้าพบท่านธรรมาจารย์เจิ้งเอี๋ยนที่สำนักงานใหญ่ เพื่อขอให้ฉือจี้ช่วยเหลือ พี่น้องร่วมชาติ ที่ลี้ภัยมาอยู่ทางภาคเหนือของไทย เนื่องจากการจัดสรรงบประมาณ ของรัฐบาล เพื่อช่วยเหลือ ตรงส่วนนี้ จะสิ้นสุดลงภายในสิ้นปี พ.ศ.2537

1994-04-18       คณะกรรมการสำรวจความเดือดร้อน นำโดยท่านรองประธานมูลนิธิพุทธฉือจี้นายหวังตวงเจิ้ง ได้เดินทางสู่ ภาคเหนือไทยเป็นครั้งแรก และทำการสำรวจหมู่บ้านผู้อพยพจำนวน 28 หมู่บ้าน ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ และเชียงราย เพื่อเข้าไปสำรวจความทุกข์ยากของผู้อพยพด้วยตนเอง หลังจากนั้นได้จัดตั้ง “โครงการบรรเทาทุกข์ภาคเหนือไทย 3 ปี ” 1995 1995-01-01“โครงการบรรเทาทุกข์ภาคเหนือไทย 3 ปี”  ได้เริ่มต้นขึ้น ฉือจี้ได้รับสงเคราะห์บ้านพักคนชรา 2 แห่ง ได้แก่ บ้านพักคนชราบ้านใหม่หนองบัว อ.ไชยปราการ จ.เชียงใหม่ และบ้านพักคนชราบ้านผาตั้ง อ.เวียงแก่น จ.เชียงราย

 

1995-05-31        ฉือจี้ใช้เวลากว่า 2 เดือน ในการสร้างที่พักอาศัยแก่หมู่บ้านห้วยหกและหมู่บ้านมังกาล่า ในพื้นที่ จังหวัดเชียงราย แล้วเสร็จทั้งสิ้น 91 หลังคาเรือน โดยประธานสภากิจการโพ้นทะเลแห่งไต้หวัน คุณเจี่ยงเซี่ยวเอี๋ยน ท่านรองประธานมูลนิธิพุทธฉือจี้นายหวังตวงเจิ้ง และพระภิกษุณีเต๋อหยิ่ง จากสมณารามจิ้งซือ ร่วมเป็นประธานในพิธีเปิดใช้หมู่บ้านฉือจี้อย่างเป็นทางการ ซึ่งถือเป็นก้าวแรก ของการดำเนิน “โครงการบรรเทาทุกข์ภาคเหนือไทย 3 ปี”

1995-06-01       เพื่อแก้ขจัดปัญหาความยากจนของพี่น้องผู้ลี้ภัยในภาคเหนือไทย ได้จัดตั้ง “โครงการฝึกอบรม เทคนิคการเพาะปลูกและการบริหารจัดการทางการเกษตร” ระยะยาวขึ้น โดยได้รับความร่วมมือจาก ผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตรจากไต้หวันในการดำเนินโครงการดังกล่าว โครงการนี้ได้จัดแบ่งเป็น 5 ส่วน หนึ่งในนั้นคือการจัดสัมมนาให้ความรู้ด้านการเพาะปลูกและการบริหารจัดการ ตามหมู่บ้านต่าง  ๆ นับจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2540 มีผู้เข้าร่วมฝึกอบรมรวม 3,353 คน และส่วนอื่น ๆ ประกอบด้วย “สัมมนาในภาพรวมตามฤดูกาล” “ให้ความรู้ด้านการเกษตรแก่หมู่บ้านฉือจี้” “บริหารจัดการ ศูนย์ทดลองพันธุ์ชาบ้านผาแดง” “จัดพิมพ์คู่มือทางการเกษตรเพื่อแจกฟรี”

1995-07-01       ฉือจี้รับช่วงดำเนินการศูนย์ทดลองพันธุ์ชาบ้านผาแดง ณ บ้านผาแดง อ.ไชยปราการ จ.เชียงใหม่ นอกจากรับผิดชอบเพาะพันธุ์ต้นกล้าไม้ผลและพันธุ์ชา เพื่อจำหน่ายให้แก่ชาวบ้านในราคาถูก แล้วยัง ได้สร้างอาชีพแก่คนในพื้นที่ ฝึกอบรมชาวบ้านให้เกิดความชำนาญในการทำเกษตร และพัฒนาคุณภาพ ชีวิตของคนในพื้นที่ 1996 พิธีวางศิลาฤกษ์และเปิดใช้หมู่บ้านฉือจี้ ณ บ้านชางหลงและบ้านแม่สลัก ก่อตั้งศูนย์ประสานมูลนิธิพุทธฉือจี้ ในเมืองไทย

1996-03-05-10  ทีมเฉพาะกิจส่งเคราะห์ภาคเหนือไทยมูลนิธิพุทธฉือจี้ พร้อมทีมงานบรรเทาภัยของรัฐบาลไต้หวัน และชาวฉือจี้ใน เมืองไทย เดินทางไปยังภาคเหนือไทย เพื่อทำพิธีวางศิลาฤกษ์และเปิดใช้หมู่บ้านฉือจี้บ้านชาญหลงและบ้านแม่สลัก พร้อมทั้งมอบเงินสงเคราะห์ค่าครองชีพสามเดือนให้แก่ทหารสูงอายุ ณบ้านพักคนชราบ้านใหม่หนองบัวรวมถึง  ตรวจสอบการเพาะพันธุ์กล้าชา ณ ศูนย์ทดลองพันธุ์ชาบ้านผาแดง และสำรวจที่ดินที่จะใช้เพื่อก่อสร้างโรงเรียนฉือจี้

1996-07-11-14   ทีมเฉพาะกิจส่งเคราะห์ภาคเหนือไทยมูลนิธิพุทธฉือจี้ ได้เดินทางไปร่วมพิธีเปิดใช้หมู่บ้านฉือจี้ หมู่บ้านชาญหลง อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ จำนวน 23 หลังคาเรือน หมู่บ้านแม่สลัก อ.แม่สรวย จ.เชียงราย จำนวน 11 หลังคาเรือน และร่วมพิธีจบหลักสูตรการฝึกอบเทคนิคการเกษตร ณ หมู่บ้านสันมะกอกหวาน อ.ฝาง จ.เชียงใหม่

1997-05-01        ท่านนายอำเภอฝาง นายอนุวัฒน์ เดชนันทรัตน์ พร้อมคณะ ได้เดินทางไปเยี่ยมชมดูงานมูลนิธิพุทธฉือจี้ไต้หวัน และได้เข้าพบท่านธรรมาจารย์เพื่อขอบพระคุณฉือจี้ที่ให้ความช่วยเหลือดูแลภาคเหนือของไทยมาอย่างต่อเนื่องนาน สามปี พร้อมทั้งแสดงความจำนง ยินดีมอบที่ดินสาธารณะในอำเภอฝางให้ฉือจี้ก่อสร้างโรงเรียน และจะช่วยดูแล เกี่ยวกับการยื่นขอจัดตั้ง “โรงเรียนฉือจี้” เพื่อประโยชน์ของเด็กนักเรียนในพื้นที่

1997-10-04       คุณอนุวัฒน์ เดชนันทรัตน์ ซึ่งดำรงตำแหน่งนายอำเภอฝางในขณะนั้น ได้เดินทางไปเยือน ฉือจี้ไต้หวันเป็นครั้งแรก นอกจากนี้ยังได้เข้าพบท่านธรรมาจารย์ เพื่อขอบพระคุณฉือจี้ที่ให้ความช่วยเหลือดูแลภาคเหนือ ของไทยมาอย่างต่อเนื่องนานสามปี

1997-10-07       ทีมเฉพาะกิจส่งเคราะห์ภาคเหนือไทยมูลนิธิพุทธฉือจี้ ดำเนินการสำรวจที่ดินและหารือกับตัวแทนชาวบ้านในพื้นที่ เพื่อสร้าง สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการศึกษาให้กับลูกหลานของคนในพื้นที่ ให้พวกเขามีทักษะและทัศนคติต่อชีวิตที่ถูกต้อง รู้จักบริการ สังคม และแก้ปัญหาความยากจน

1998                 อาสาสมัครฉือจี้ได้ดำเนินการซ่อมแซมถนนให้เป็นถนนคอนกรีต ที่มีความยาว 1,300 เมตร เมื่อถนนสร้างแล้วเสร็จ ทำให้   เด็กนักเรียนเดินทางไปโรงเรียนได้สะดวกมากยิ่งขึ้น

1998-02-08        นักธุรกิจไต้หวันในไทยได้จัดกิจกรรม “ความรักจากไทเป สู่ภาคเหนือไทย” ซึ่งเป็นกิจกรรมมอบกระเป๋านักเรียน แก่เด็กนักเรียนในพื้นที่กิจกรรมนี้มีส่วนทำให้ข้าราชการในท้องถิ่น และชาวบ้านในพื้นที่ให้การยอมรับเป็นอย่างดี และสามารถแก้ปัญหา ที่ดินได้ในระดับหนึ่ง

1998                  ยื่นคำขอก่อสร้างโรงเรียนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นทางการ

1998-06-12         มูลนิธิพุทธฉือจี้ในประเทศไทย ได้ยกระดับจากสถานที่ติดต่อฉือจี้ เป็นสาขามูลนิธิพุทธฉือจี้ไต้หวัน ประจำประเทศไทย และได้รับอนุญาตจดทะเบียนเป็นมูลนิธิเพื่อการกุศลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นทางการ

1999-03-22         จัดตั้งมูลนิธิพุทธฉือจี้ไต้หวัน ในประเทศไทย สาขาย่อยอำเภอฝางขึ้น เพื่อผลัดดันภารกิจการกุศลในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง

2000-2001           นอกจากดำเนินงานการกุศลและดูแลบ้านพักคนชราอย่างต่อเนื่องแล้วยังได้ดำเนินการเตรียมงานก่อสร้างโรงเรียน  ควบคู่กันไป

2002-04-27          โรงเรียนแห่งแรกในต่างแดนของฉือจี้  เริ่มทำการก่อสร้างอาคารเรียนระดับ ประถมโรงเรียนฉือจี้เชียงใหม่ โดยท่านรองประธานมูลนิธิพุทธฉือจี้ไต้หวันนายหวังตวงเจิ้งและคุณเฉินเม่าซิว(นายทหารชั้นผู้ใหญ่อดีตทหารจีนคณะชาติ) ร่วมเป็นประจักษ์พยาน

2005-05-16           โรงเรียนฉือจี้เชียงใหม่ระดับประถมศึกษาเปิดทำการเรียนการสอนอย่างเป็นทางการวันแรกสร้างประวัติศาสตร์ หน้าใหม่ด้านการศึกษาของมูลนิธิพุทธฉือจี้ไต้หวันในต่างแดน